The Virtue of Patience and Prayer

Translation by: Ash-Shifaa

After Allah commanded that He be appreciated, He ordained patience and prayer. It is a fact that the servant is either enjoying a bounty

that he should be thankful for, or suffering a calamity that he should meet with patience.

 A Hadith states:

«عَجَبًا لِلْمُؤْمِنِ لَا يَقْضِي اللهُ لَهُ قَضَاءً إلَّا كَانَ خَيْرًا لَهُ: إِنْ أَصَابَتْهُ سَرَّاءُ فَشَكَرَ كَانَ خَيْرًا لَهُ وإنْ أَصَابَتْهُ ضَرَّاءُ فَصَبَرَ كَانَ خَيْرًا لَه»

“Amazing is the believer, for whatever Allah decrees for him, it is better for him! If he is tested with a bounty, he is grateful for it  and this is better for him; and if he is afflicted with a hardship,he is patient with it and this is better for him”

 

Allah has stated that the best tools to help ease the effects of the affliction are patience and prayer. Earlier we mentioned Allah’s statement:

﴿وَاسْتَعِينُواْ بِالصَّبْرِ وَالصَّلَوةِ وَإِنَّهَا لَكَبِيرَةٌ إِلاَّ عَلَى الْخَـشِعِينَ ﴾

And seek help in patience and As-Salah (the prayer)

and truly, it is extremely heavy and hard except for Al-Khashi`in i.e., the true believers in Allah (2:45)

 

There are several types of Sabr ـ patience: one for avoiding the prohibitions and sins, one for acts of worship and obedience.

The second type carries more rewards than the first type.

There is a third type of patience required in the face of the afflictions and hardships, which is mandatory, like repentance.

`Abdur-Rahman bin Zayd bin Aslam said, “Sabr has two parts:

patience for the sake of Allah concerning what He is pleased with

 (i.e., acts of worship and obedience), even if it is hard on the heart and the body, and patience when avoiding what He dislikes, even if it is desired.

Those who acquire these qualities will be among the patient persons

whom Allah shall greet (when they meet Him in the Hereafter; refer to Surat Al-Ahzab 33:44), Allah willing.”

 

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اسْتَعِينُواْ بِالصَّبْرِ وَالصَّلاَةِ إِنَّ اللّهَ مَعَ الصَّابِرِينَ

O you who have believed, seek help through patience and prayer. Indeed, Allah is with the patient (2:153)

Source: Tafsir Ibn Kathir – Quran Tafsir http://www.qtafsir.com/index.php?option=com_content&task=view&id=281

Link:http://www.youtube.com/watch?v=8hmK7rPmO8A

 

 

สู่คุณค่าที่งดงาม…ด้วยความอดทนและการดำรงละหมาด

หลังจากที่อัลลอฮฺได้ทรงมีพระบัญชาถึงสิ่งที่จะทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยนั้น พระองค์ก็ได้ทรงกำชับให้บ่าวของพระองค์มีความอดทนและให้ดำรงการละหมาด มันเป็นความจริงที่ว่า…เมื่อผู้เป็นบ่าวมีความเพลิดเพลินอย่างมากมายกับความโปรดปรานที่เขาได้รับซึ่งเขาควรจะสำนึกขอบคุณต่อพระองค์ หรือไม่ก็ถ้าเขาประสบกับความทุกข์สาหัสกับเหตุการณ์อันเลวร้ายเขาก็ควรจะเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านั้นอย่างอดทน

อัลหะดีษได้กล่าวว่า

«عَجَبًا لِلْمُؤْمِنِ لَا يَقْضِي اللهُ لَهُ قَضَاءً إلَّا كَانَ خَيْرًا لَهُ: إِنْ أَصَابَتْهُ سَرَّاءُ فَشَكَرَ كَانَ خَيْرًا لَهُ وإنْ أَصَابَتْهُ ضَرَّاءُ فَصَبَرَ كَانَ خَيْرًا لَه»

ช่างน่าประหลาดใจจริงๆ สำหรับการกำหนดสภาวการณ์ (เกาะฎออ์) ของอัลลอฮฺแก่ผู้ศรัทธา ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นความดีสำหรับเขาหากว่าความดีได้ประสบแก่เขาอย่างมากมายเขาก็จะขอบคุณต่ออัลลอฮฺ และมันก็เป็นความดีสำหรับเขา และถ้าหากว่าความทุกข์ยากเดือดร้อนมาประสบกับเขา แล้วเขาก็จะอดทนต่อความเดือดร้อนอันนั้นซึ่งนั่นก็เป็นความดีสำหรับเขาอีกเช่นกัน” (บันทึกโดยมุสลิม)

อัลลอฮฺตะอาลาได้ทรงตรัสว่า เครื่องมือที่ดีที่สุดเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากความทุกข์ คือความอดทนและการดำรงละหมาด โดยก่อนหน้านี้เราก็ได้กล่าวถึงคำสั่งอันนั้นของอัลลอฮฺมาแล้ว :

﴿وَاسْتَعِينُواْ بِالصَّبْرِ وَالصَّلَوةِ وَإِنَّهَا لَكَبِيرَةٌ إِلاَّ عَلَى الْخَـشِعِينَ ﴾

ความว่า “และจงขอความช่วยเหลือ ด้วยความอดทนและการละหมาด และแน่นอนการละหมาดนั้นเป็นงานที่ยากและหนัก เว้นแต่สำหรับบรรดาผู้นอบน้อมถ่อมตนเท่านั้น” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 45)

ความอดทนมีหลายประเภทด้วยกัน ประเภทที่หนึ่งคือการอดทนต่อการละทิ้งสิ่งที่เป็นข้อห้ามและที่เป็นบาปทั้งหลาย ประเภทที่สองคือการอดทนต่อการปฏิบัติเพื่อแสดงถึงการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺและการอยู่ในโอวาทของพระองค์การอดทนประเภทที่สอง (อดทนต่อการอิบาดะฮฺ) จะมีผลตอบแทนซึ่งรางวัลมากมายกว่าประเภทแรก การอดทนประเภทที่สามคืออดทนต่อบททดสอบจากความทุกข์และความยากลำบากทั้งหลาย (มุศีบะฮฺ) ซึ่งเป็นคำสั่งใช้ให้ปฏิบัติทำนองเดียวกันกับการให้สำนึกต่อความผิดต่างๆ

ท่านอับดุรเราะหฺมาน บินซัยด์ บินอัสลัม ได้กล่าวว่าการอดทนนั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ ชนิดที่หนึ่งคือการอดทนเพื่ออัลลอฮฺตะอาลาโดยคำนึงถึงความโปรดปรานของพระองค์ ได้แก่การแสดงออกถึงการเคารพภักดีและการเชื่อฟังคำสั่งของพระองค์แม้นว่าการงานนั้นจะเป็นสิ่งที่รู้สึกหนักต่อหัวใจและร่างกายมากมายแค่ไหนก็ตามและชนิดสองคือการอดทนเพื่ออัลลอฮฺจากสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม แม้ว่าสิ่งนั้นๆจะเป็นความต้องการอันเป็นสุดยอดของความปรารถนาก็ตาม

ดังนั้นผู้ใดที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นเขาก็คือหนึ่งในบรรดาผู้ที่อดทน ผู้ที่ได้รับการทักทายด้วยสลาม (ในสวรรค์) จากพระองค์ ซึ่งเป็นผู้ที่ความศานติจะประสบแด่เขา เมื่อเขาได้พบกับพระองค์ อินชาอัลลอฮฺ” (จากสูเราะห์ อัลอะหฺซาบ อายะห์ที่44)

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اسْتَعِينُواْ بِالصَّبْرِ وَالصَّلاَةِ إِنَّ اللّهَ مَعَ الصَّابِرِينَ

ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงขอความช่วยเหลือด้วยความอดทนและการละหมาด แท้ที่จริงแล้วอัลลอฮฺทรงอยู่กับบรรดาผู้ที่อดทนทั้งหลาย” (สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 153)

Source: Tafsir Ibn Kathir – Quran Tafsir http://www.qtafsir.com/index.php?option=com_content&task=view&id=281

~ตัฟซีรอิบนุกะษีร~

ลิงก์: http://www.youtube.com/watch?v=8hmK7rPmO8A

Published in: on January 25, 2012 at 4:22 pm  Leave a Comment